โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 74 – การปฏิบัติตามข้อกำหนด (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 10 กรกฎาคม 2567
- Tweet
แพทย์อาจต้องร่วมมือกับนักสังคมสงเคราะห์ (Social worker) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับทรัพยากร (Resource) ด้านดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งการเข้าถึง (Access) ยาไม่ได้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย เช่น การศึกษาหนึ่งพบว่าเหตุผลที่ 7 ของ 8 ข้อต้นๆ (Top) ของการไม่ปฏิบัติตาม (Non-compliance) คำสั่งการกินยาไม่ได้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเลย
บ่อยครั้งเกี่ยวข้องกับความรู้สึก (Sentiment) ต่อต้านยา (Anti-medicine) เช่น ความกลัวผลข้างเคียง (Side effect), ความกังวลที่ต้องพึ่งพา (Dependence) และการไม่วางใจ (Mistrust) ในแพทย์หรือยักษ์ใหญ่บริษัทยา บางครั้งเกี่ยวข้องกับความไม่เข้าใจ (Understanding) เช่น เมื่อผู้ป่วย “รู้สึกดีแล้ว” พวกเขาอาจตัดสินใจเลิกยาเอง
นอกจากนี้ หากบุคคลเชื่อว่า (Believe) ตัวเองกำลังกินยามากเกินไป เขาจึงมักจะเลือกโดยพลการ (Arbitrarily) ที่จะเลิกกินยาบางชนิด ในขณะที่ผู้อื่น อาจจะไม่เข้าใจว่าจะใช้ยาอย่างไร
ปัญหาการปฏิบัติตามคำสั่งการใช้ยานี้ เป็นสิ่งที่พบเห็นบ่อย แม้ในการรักษาโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต (Stroke) และอัมพฤกษ์-อัมพาตชั่วคราว (Transient ischemic attack) [หรือก่อนอัมพฤกษ์-อัมพาต (Pre-stroke)] บ่งบอกถึงความไม่แน่ใจ (Hesitancy) หรือการปฏิเสธ (Refusal) การกินยาเพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตซ้ำ
พวกเขามักอ้างถึง (Cite) ความกังวล (Concern) เกี่ยวกับผลข้างเคียง และความปรารถนาที่จะทำสิ่งต่างๆ "โดยธรรมชาติ" (โดยการลดน้ำหนัก, กินอาหารอาหารที่ดี เป็นต้น) จากประสบการณ์ มีความเป็นไปได้ที่น้ำหนักและพฤติกรรมของผู้ป่วยไม่เปลี่ยนแปลงมาก (Drastic) หลังจากพบ (Discover) ว่ามีอาการ (Condition) เหล่านี้
หากผู้ป่วยมีข้อกังวลเกี่ยวกับยา หรือหากมีประเด็น (Issue) เรื่องผลข้างเคียง พวกเขาสามารถพูดคุยเรื่องเหล่านี้กับแพทย์ของพวกเขาและตรวจสอบ (Review) ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (Current) เพื่อทำการปรับเปลี่ยน (Adjustment)ได้
วิธีการ (Approach) แก้ปัญหาความดันโลหิตสูงก็คือ ขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยตรวจวัดความดันโลหิต ผู้ใหญ่ที่อายุน้อย (Young adult) มักพบแพทย์น้อยมาก แต่ 8% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่มีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 39 ปี มีโรคความดันโลหิตสูง
ตามข้อมูลจากสำมะโนครัว (Census) ของ ปี ค.ศ. 2019 ในสหรัฐอเมริกามีผู้ใหญ่อายุ 20 ปี ถึง 44 ปีมีจำนวน 108 ล้านคน ดังนั้น 8% ของตัวเลขนี้ จึงเทียบเท่า (Equate) กับ 8.6 ล้านคนของกลุ่มผู้ใหญ่อายุน้อย ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
เราทราบว่า การเก็บสะสม (Build-up) ของก้อนไขมัน (Fatty streak) ในหลอดเลือด (Arterial) เริ่มต้นในวัยรุ่น (Teen) และเรารู้ดีว่าโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด (Intimately) กับวิวัฒนาการ (Progression) ของก้อนไขมันนี้
ดังนั้น แพทย์จึงควรตรวจติดตาม (Monitor) แต่เนิ่นๆ และจับการเพิ่มสูงขึ้น (Elevation) ของความดันโลหิตทันทีที่ปรากฏ (Appear) ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน (Complication) การตรวจนี้แพทย์ควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยอุดมศึกษา โดยการซื้อเครื่อง (Device) วัดความดันโลหิต หรือใช้เครื่องวัดในส่วนของร้านขายของชำ (Grocery) เมื่อซื้อของชำ
แหล่งข้อมูล –